บทวิเคราะห์ฟอเร็กซ์ประจำวันที่ 20 - 24 ธันวาคม 2021

บ้านโคก / อุตรดิตถ์

20 ธ.ค. 2564 เวลา 13:08 น.

เก็บไว้ดูภายหลัง
ราคา 1 บาท
เข้าชม 221 ครั้ง
รายละเอียดสินค้า
บทวิเคราะห์ฟอเร็กซ์ประจำวันที่ 20 - 24 ธันวาคม 2021

EUR/USD: ข่าวเก่าจากธนาคารเฟดและธนาคารกลางยุโรป

สัปดาห์ที่แล้วเป็นสัปดาห์แห่งธนาคารกลาง ธนาคารเฟดสหรัฐฯ จัดการประชุมเมื่อวันพุธที่ 15 ธันวาคม ซึ่งเป็นการประชุมครั้งสุดท้ายของปี การประชุมของธนาคารกลางยุโรปและของอังกฤษจัดขึ้นเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม และของญี่ปุ่นปิดท้ายสัปดาห์ในวันศุกร์ที่ 17 ธันวาคมที่ผ่านมา

มีโมเดลการเทรดอย่างหนึ่งที่เรียกว่า FIFO: หรือย่อมาจาก “first in, first out” (เข้าก่อน ออกก่อน) ดังนั้น เราจะปฏิบัติตามนี้ และจะเริ่มพิจารณาผลการประชุมของธนาคารแต่ละแห่งตามลำดับที่จัดขึ้น

อันดับแรกเป็นการประชุมของคณะกรรมการ FOMC (Federal Open Market Committee หรือคณะกรรมการตลาดเสรี) ของธนาคารเฟดสหรัฐฯ นักลงทุนบางคนคาดว่าจะได้เห็นการตัดสินใจที่สุดโต่ง และท่าทีของผู้แทนธนาคารเฟดเมื่อวันพุธปรากฏว่าดูเข้มงวดกว่าที่คาดการณ์ไว้ ส่งผลให้ EUR/USD ขยับลงมายังกรอบด้านล่างในรอบสามสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม เมื่อราคาขยับถึง 1.1220 ก็มีการกลับตัวและดอลลาร์ก็เริ่มเสียหลัก

ตลาดตระหนักว่า จริง ๆ แล้ว หลักเกณฑ์ทางนโยบายทางการเงินเกือบทุกหลักเกณฑ์ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง มีเพียงมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) เท่านั้นที่มีการทบทวน โดยลดอัตราการซื้อสินทรัพย์เพิ่มขึ้นจาก $15 พันล้าน เป็น $30 พันล้านเหรียญต่อเดือน ซึ่งคาดว่ามาตรการนี้จะสิ้นสุดลงโดยสมบูรณ์ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ปี 2022

ภาพรวมของตลาดแรงงานดีขึ้นเล็กน้อย แต่ยังมาพร้อมกับความกังวลเกี่ยวกับโอกาสที่จะเกิด “ไวรัสสายพันธุ์ใหม่” อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในปี 2022 อาจสูงขึ้นเล็กน้อย ไม่ใช่ที่ 2.3% อย่างที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้า แต่เป็น 2.7% อัตราเงินเฟ้อสำหรับปี 2023 คาดการณ์ว่าจะเติบโตขึ้นเพียง 0.1% และจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงในปี 2024

Financial Times ชี้ว่า แม้ว่าจะมีคำแถลงที่ดูดุดัน ธนาคารเฟดยังคงพิจารณาภาวะเงินเฟ้อว่าเป็นปรากฏการณ์ชั่วคราว และคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะกลับมาสู่กรอบเป้าหมายภายในสองปี และจึงค่อย ๆ ขึ้นอัตราดอกเบี้ย

อัตราดอกเบี้ยยังคงที่ที่ระดับเดิมที่ 0.25% ในที่ประชุมครั้งล่าสุด สำหรับแผนการของธนาคารในปีหน้านี้ กราฟจุดของธนาคารฯ ชี้ว่าน่าจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยทั้งหมดสามครั้งในปีหน้า แต่นี่เป็นเพียงการแถลงความประสงค์ที่ยังคงต้องอาศัยการพิจารณาสถานการณ์ทางเศรษฐกิจโดยรวมด้วยเช่นกัน

โดยรวมแล้ว คำแถลงทั้งหมดจากธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังไม่มีอะไรเจาะจงในเวลานี้ ตลาดเรียนรู้สิ่งที่พวกเขาได้ทราบดีอยู่แล้ว ดังนั้น การตอบสนองของตลาดก็เหมาะสม โดยคู่ EUR/USD กลับทิศทางและขยับขึ้นมา หลังจากวิ่งมา 140 จุดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม ราคาก็ขึ้นมาอยู่กรอบด้านบนของช่องด้านข้างที่ระดับ 1.1360

(แน่นอนว่านี่เกิดขึ้นเพราะความช่วยเหลือของฝั่งเงินปอนด์เช่นกัน ซึ่งผลการตัดสินใจของธนาคารแห่งชาติอังกฤษสร้างแรงกดดันอย่างหนักให้กับดอลลาร์ และเราจะมาพูดคุยรายละเอียดในประเด็นนี้ด้านล่าง)

ผลการประชุมของธนาคารกลางยุโรปไม่ทำให้นักลงทุนประหลาดใจเช่นกัน เช่นเดียวกับธนาคารเฟด ธนาคารกลางยุโรปก็ปรับตัวเลขคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในปีหน้าให้สูงขึ้น และยังมองว่าอัตราเงินเฟ้อเป็นสถานการณ์ชั่วคราวเช่นกัน โดยธนาคารฯ แถลงมุมมองดังกล่าวอย่างเปิดเผย และไม่มองว่ามีความจำเป็นที่จะต้องต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อในขณะนี้ นอกจากนี้ ยังมีการประกาศอีกครั้งว่าอัตราดอกเบี้ยจะยังคงที่ที่ระดับปัจจุบันไปจนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะขยับถึงระดับเป้าหมายที่ 2.0% ซึ่งจะต้องใช้เวลาอีกนาน ส่งผลให้ผลลัพธ์ “หลัก” ของการประชุมนั้นเป็นคำแถลงของ คริสติน ลาการ์ด ประธานธนาคารกลางยุโรปว่า “ยังมีแนวโน้มน้อยมากที่เราจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปี 2022” ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนทราบดีอยู่แล้ว

ท่าทีผ่อนคลายของธนาคารกลางยุโรปไม่ปล่อยให้คู่ EUR/USD ขยับขึ้นมาเหนือกรอบด้านข้าง และความกังวลเกี่ยวกับไวรัสสายพันธุ์ Omicron ก็กดดันให้ราคาขยับลง และปิดตลาดท้ายสัปดาห์ที่ระดับ 1.1238

สำหรับสัปดาห์ที่จะถึงนี้เป็นช่วงก่อนวันคริสต์มาส และเจ็ดวันหลังจากนั้นจะเป็นวันขึ้นปีใหม่ ในกรณีที่ไม่มีบทบาทของผู้เล่นรายใหญ่ ตลาดจึงมีสภาพคล่องที่ค่อนข้างต่ำและอาจเต็มไปด้วยเซอร์ไพรส์ได้ทุกรูปแบบ ความผันผวนที่เพิ่มขึ้นพร้อมกับช่องว่างราคาที่อาจเกิดขึ้นคือสิ่งที่นักเทรดเรียกว่าเป็น “การทะยานขึ้นของซานตาคลอส” แต่แน่นอนว่า อาจเกิดขึ้นในทางตรงกันข้ามได้เช่นกันคือ การเคลื่อนที่แบบ “ขี้เกียจ” ในกรอบแคบ ๆ

สำหรับความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ 50% คาดว่าดอลลาร์จะแข็งค่าต่อไป และเห็นด้วยกับแนวโน้มขาลงของคู่ EUR/USD ส่วน 30% เดิมพันว่ายูโรจะแข็งค่าขึ้น อีก 20% ที่เหลือมีท่าทีเป็นกลาง ในส่วนออสซิลเลเตอร์บนกรอบ D1 มี 80% ชี้ไปทางทิศเหนือ (แม้ว่าอีก 15% จะอยู่ในโซน oversold) 10% ชี้ไปยังทิศเหนือ และ 100% ของอินดิเคเตอร์เทรนด์เข้าข้างกับฝั่งตลาดหมี

ระดับแนวต้านอยู่ในโซน 1.1265, 1.1300, 1.1355, 1.1380, 1.1435-1.1465 และ 1525 ส่วนแนวรับที่ใกล้ที่สุด ได้แก่ 1.1225 จากนั้นคือ 1.1185 และ 1.1075-1.1100

ตารางกิจกรรมทางเศรษฐกิจของปีนี้ถือว่าหมดลงแล้ว และไม่มีข่าวสำคัญเป็นพิเศษใด ๆ ที่ควรจับตาดูในสัปดาห์ที่จะถึงนี้ สำหรับเหตุผลที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเทรนด์หรือความผันผวนที่เพิ่มสูงขึ้น เราอาจเน้นเรื่องการประกาศสถิติ GDP ประจำปีของสหรัฐฯ ในวันพุธที่ 22 ธันวาคม และการประกาศสถิติคำสั่งซื้อสินค้าทุนและสินค้าคงทนโดยสำนักสำมะโนสหรัฐฯ ในวันถัดไปที่ 23 ธันวาคม
GBP/USD: ก้าวแรกของธนาคารแห่งชาติอังกฤษ

บทวิเคราะห์ฟอเร็กซ์และคริปโตเคอเรนซีประจำวันที่ 20 - 24 ธันวาคม 20211

เราเน้นย้ำไว้ในบทวิเคราะห์ครั้งก่อนหน้าว่า ภารกิจที่ 1 ของ GBP/USD คือการขึ้นไปยืนเหนือระดับแนวต้านในโซน 1.3285-1.3300 และเราทำนายไว้ว่าหากธนาคารแห่งชาติอังกฤษขึ้นอัตราดอกเบี้ยในวันที่ 16 ธันวาคม นี่จะไม่เป็นปัญหา และนี่ก็เกิดขึ้นจริง

ในขณะที่ธนาคารเฟดและธนาคารกลางยุโรปได้แต่ประวิงเวลา ธนาคารแห่งชาติอังกฤษเริ่มเดินหน้าโจมตีราคา หลังจากอัตราเงินเฟ้อในสหราชอาณาจักรขยับขึ้นมาที่ 5.1% ทำระดับสูงสุดในรอบ 10 ปี ธนาคารฯ จึงตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในรอบสามปีจาก 0.1% เป็น 0.25% การตัดสินใจนี้เกิดขึ้นท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคที่รุนแรงมากขึ้นเนื่องด้วยไวรัสสายพันธุ์ใหม่ Omicron อย่างไรก็ดี นายแอนดริว ไบเลย์ ผู้ว่าการธนาคารฯ ชี้ว่า สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าคือการรับมือกับแรงกดดันของราคาต่อเศรษฐกิจและสังคม

แน่นอนว่า การขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ 15 จุดนั้นไม่ถือว่ามากนัก แต่ที่สำคัญที่สุด ก้าวแรกนั้นเกิดขึ้นแล้ว และตลาดคาดการณ์ว่าจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งที่สองในเดือนกุมภาพันธ์

ยังเป็นเรื่องยากที่จะบอกว่าทำไมสื่อด้านการเงินหลายแห่งถึงเขียนว่า การตัดสินใจของธนาคารแห่งชาติอังกฤษในครั้งนี้นั้นเป็นเรื่องน่าประหลาดใจโดยสิ้นเชิง หากคุณดูที่บทวิเคราะห์ครั้งก่อนหน้าของเรา ผู้เชี่ยวชาญ 40% คาดการณ์ว่าจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ย ส่งผลให้เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นตามมา

แต่ค่าเงินปอนด์ล้มเหลวที่จะแข็งค่าขึ้น หลังจากขยับขึ้นมาเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ที่ระดับ 1.3373 GBP/USD ก็กลับตัวลงอย่างรวดเร็ว นักลงทุนเริ่มทยอยเทขายเงินปอนด์เนื่องด้วยความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับไวรัส Omicron ความเสี่ยงที่พลิกกลับส่งผลให้ดอลลาร์กลายเป็นค่าเงินที่ปลอดภัยมากกว่า และจึงสร้างแรงสะเทือนต่อดัชนีหุ้นและค่าเงินยูโร รวมถึงเงินปอนด์ ซึ่งปิดตลาดรอบห้าวันทำการที่ 1.3235

การคาดการณ์ของผู้เชี่ยวชาญสำหรับสัปดาห์ที่จะถึงนี้ดูไม่ค่อยแน่นอนตามช่วงก่อนวันหยุด 35% ของผู้เชี่ยวชาญเห็นด้วยกับฝั่งกระทิง จำนวนเดียวกันโหวตให้กับฝั่งหมี และผู้เชี่ยวชาญ 30% ที่เหลือไม่เลือกข้างใด ๆ ในบรรดาออสซิลเลเตอร์บนกรอบ D1 สถานการณ์คล้ายกัน โดย 30% ชี้ให้เข้าซื้อ 45% แนะนำให้ขาย และอีก 25% ที่เหลือแนะนำให้หยุดพักและไม่ต้องทำอะไรในตอนนี้ ด้านอินดิเคเตอร์เทรนด์มีอารมณ์ที่แตกต่างออกไปโดยสิ้นเชิง โดย 100% มีสัญญาณสีแดง

ระดับแนวรับอยู่ที่ 1.3210-1.3220 จากนั้นคือ 1.3170-1.3190, 1.3135, 1.3075 ในกรณีที่ราคาตัดทะลุกรอบถัดมา ราคาอาจขยับลงต่อไปที่ระดับ 1.2960 ในส่วนโซนและระดับแนวต้านอยู่ที่ 1.3285-1.3300, 1.3340, 1.3370, 1.3410, 1.3475, 1.3515, 1.3570, 1.3610, 1.3735, 1.3835

นอกจากนี้ยังมีสถิติที่สำคัญเล็กน้อยสำหรับเงินปอนด์ในสัปดาห์หน้า รายงานข่าวที่จะได้รับความสนใจเป็นพิเศษคือสถิติ GDP สหราชอาณาจักรในไตรมาสที่ 3 ซึ่งจะประกาศในวันพุธที่ 22 ธันวาคม แต่ตลาดจะให้ความสำคัญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 รอบใหม่มากกว่า
USD/JPY: เทรนด์ด้านข้างยังคงไปต่อ

ค่าเงินที่ไม่เกรงกลัวต่อสถานการณ์ความเสี่ยงที่พลิกกับ คือ เงินเยน ในทางกลับกันนั้น เงินเยนกลับยินดีกับสถานการณ์นี้ ในการวิเคราะห์ครั้งที่แล้ว ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ (80%) ได้ทำนายไว้ว่า ท่าทีของเฟดสหรัฐฯ จะช่วยให้คู่ USD/JPY ขยับขึ้น และบางทีอาจตัดผ่านกรอบด้านบนที่ 113.40-114.40 นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นจริง โดยดอลลาร์เริ่มแข็งค่าขึ้น และราคาคู่นี้ก็ขยับขึ้นมาที่ระดับ 114.25 ในวันที่ 15 ธันวาคม จากนั้น ด้วยความตื่นตระหนกของนักลงทุน ราคาก็ย้อนตัวลงมายังกรอบด้านล่างที่ 113.13 และปิดตลาดในโซนตรงกลางของกรอบการซื้อขายที่ระดับ 113.70

ยังเป็นเรื่องยากที่จะทำนายว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับ Omicron และสถานการณ์จะส่งผลต่อความตื่นตระหนกในตลาดอย่างไร ในตอนนี้ ค่าเงินดอลลาร์ยังคงเป็นผู้นำในการต่อสู้ระหว่างเงินเยนและดอลลาร์ โดยนักวิเคราะห์ 55% ได้โหวตให้กับแนวโน้มการเติบโตของคู่ USD/JPY และอีก 45% โหวตให้กับเทรนด์ขาลง

ผลการวิเคราะห์อินดิเคเตอร์ทางเทคนิคยิ่งยืนยันการเคลื่อนที่ด้านข้างของคู่นี้ตามระดับ 113.50 เป็นเวลาเกือบ 10 สัปดาห์ติดต่อกัน ในส่วนออสซิลเลเตอร์ 30% ชี้ไปยังทิศใต้บนกรอบ D1 ส่วน 35% ยังคงท่าทีเป็นกลาง และ 35% ชี้ไปยังทิศเหนือ ด้านอินดิเคเตอร์เทรนด์ สีเขียวได้เปรียบกว่าเล็กน้อยที่อัตรา 60% ต่อ 40%

ระดับแนวรับ ได้แก่ 113.20, 112.70, 112.00, 111.60 และ 111.20 ส่วนแนวต้าน ได้แก่ 114.00, 114.25, 115.00 และ 115.50

และตอนนี้ก็ถึงเรื่องข้อมูลที่สัญญาไว้เกี่ยวกับการประชุมของธนาคารแห่งชาติญี่ปุ่น ซึ่งดูเหมือนว่าจะไม่มีความสนใจที่จะดันเงินเยนให้แข็งค่าขึ้นแต่อย่างใด และแม้ว่าธนาคารกลางฯ จะได้ลดปริมาณมาตรการเยียวยาฉุกเฉินที่เกี่ยวข้องกับภาวะการระบาดของโรคเมื่อวันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม แต่ก็ยังคงอัตราดอกเบี้ยไม่เปลี่ยนแปลงที่ระดับติดลบ -0.1%

ธนาคารฯ ยังคงนโยบายผ่อนคลายเป็นอย่างยิ่งและมาตรการสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กเหมือนเดิม และนายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการธนาคารแห่งชาติญี่ปุ่นกล่าวในงานแถลงข่าวว่า เงินเยนที่อ่อนค่าจะช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจญี่ปุ่นมากกว่าทำให้เกิดความเสียหาย หากเงินเยนอ่อนค่า ก็จะส่งผลดีต่อการส่งออกและกำไรของบริษัท ดังนั้น เราพูดได้อย่างมั่นใจว่า นโยบายทางการเงินของธนาคารกลางแห่งนี้จะยังคงท่าทีผ่อนคลายมากที่สุดในอนาคตอันใกล้
.
กลุ่มนักวิเคราะห์ NordFX
.
สนใจสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ th.support@nordfx.com #NORDFX #FOREX #TRADE #PROFIT #เทรด #กำไร #ทอง #ข่าวสาร #cryptocurrencynews #Bitcoin #News
เปิดร้านค้าออนไลน์ฟรี
แชร์   |    แจ้ง / รายงานสินค้า

ให้คะแนนสินค้า

กำลังโหลดรีวิว..