บทวิเคราะห์ฟอเร็กซ์ประจำวันที่ 6 - 10 ธันวาคม 2021

บ้านโคก / อุตรดิตถ์

6 ธ.ค. 2564 เวลา 12:46 น.

เก็บไว้ดูภายหลัง
ราคา 1 บาท
เข้าชม 254 ครั้ง
รายละเอียดสินค้า
บทวิเคราะห์ฟอเร็กซ์ประจำวันที่ 6 - 10 ธันวาคม 2021
.
EUR/USD: การจ้างงานและภาวะเงินเฟ้อเป็นตัวตัดสินทุกอย่าง

ขณะนี้ ตลาดกำลังถูกควบคุมด้วยปัจจัยสองประการ ได้แก่ ความกลัวเรื่องไวรัสโควิดสายพันธุ์ใหม่และการจำกัดนโยบายทางการเงินโดยธนาคารกลาง แต่ยังไม่มีความชัดเจนเท่าไรนักว่าสายพันธุ์ Omicron นั้นอันตรายและจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจมากน้อยขนาดไหน ดังนั้น ความสนใจหลักจึงมุ่งไปที่ธนาคารกลางต่าง ๆ โดยเฉพาะธนาคารเฟดสหรัฐน ผู้เชี่ยวชาญจากรอยเตอร์ส 19 คน ระบุว่าความแตกต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยจะเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของตลาด ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญอีก 15 คนมองว่าตัวขับเคลื่อนหลักนั้นคือไวรัสสายพันธุ์ Omicron

ถัอยแถลงของ เจอโรม พาวเวลล์ ต่อวุฒิสภาในสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน สร้างแรงสะเทือนต่อตลาด เพราะว่านักวิเคราะห์และผู้เชี่ยวชาญเห็นถึงสัญญาณนโยบายแบบเหยี่ยวในคำพูดของเขา ส่งผลให้ดัชนีหุ้นทั้ง Dow Jones, S&P500, Nasdaq ปรับลดลง ในขณะที่ DXY ขยับสูงขึ้น

ดอลลาร์ฟื้นขึ้นมา 147 จุดเทียบกับยูโรในเวลาน้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง โดยพาราคาคู่ EUR/USD ลงจาก 1.1382 เป็น 1.1235 อย่างไรก็ดี ไม่นานจากนั้น ตลาดก็นิ่งสงบลงอย่างรวดเร็ว และอัตราแลกเปลี่ยนคู่นี้ปรับขึ้นมาเพื่อรอฟังสถิติจากตลาดแรงงานสหรัฐฯ

ภาวะเงินเฟ้อและการจ้างงาน ดัชนีสองตัวนี้เป็นตัวกำหนดนโยบายปัจจุบันของเหล่าธนาคารกลาง

ธนาคารกลางยุโรปยังคงยืนยันว่า ภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นนั้นเกิดขึ้นแค่ชั่วคราว จึงสมเหตุสมผลที่จะใช้มาตรการเพื่อจำกัดภาวะเงินเฟ้อในขณะนี้ แม้ว่าบางคนเชื่อว่า คำแถลงของคริสติน ลาการ์ด ผู้ว่าการธนาคารฯ เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ให้สัญญาณการจำกัดนโยบายทางการเงินในทันที แต่ไม่มีการกล่าวถึงขั้นตอนที่เฉพาะเจาะจงใด ๆ ทั้งนี้อาจมีความเป็นไปได้ที่มีการรับมือกับปัญหานี้แล้ว สถิติจากดัชนีราคาผู้ผลิตซึ่งประกาศออกมาเมื่อสัปดาห์ที่แล้วดูน่าหวาดกลัว โดยอัตราการเติบโตของดัชนีเร่งสูงขึ้นจาก 16.1% เป็น 21.9% (จากตัวเลขคาดการณ์ที่ 18.3%) ตัวเลขเหล่านี้บ่งชี้ถึงภาวะเงินเฟ้อในยูโรโซน ซึ่งขยับถึงระดับ 4.9% แล้วและยังไม่หยุดแค่นั้น และอาจขยับขึ้นต่อเนื่อง สำหรับตลาดแรงงานยุโรปยังเติบโตไม่มากนัก อัตราว่างงานลดลงเพียง 0.1% จาก 7.4% และ 7.3%

สถิติจากตลาดแรงงานสหรัฐฯ ดูดีกว่ามาก จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานเพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ เป็น 222,000 จากตัวเลขคาดการณ์ที่ 245,000 และดัชนีค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่รอบสี่สัปดาห์ปรับลดลงมายังระดับต่ำสุดของเดือนมีนาคมปี 2020 ในขณะเดียวกัน จำนวนผู้ที่รับสวัสดิการว่างงานเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดภาวะโรคระบาดลดลงต่ำกว่า 2 ล้านราย เหลือ 1,956,000

แต่จำนวนตำแหน่งงานใหม่ที่สร้างขึ้นนอกภาคการเกษตรสหรัฐฯ (NFP) อยู่ที่เพียง 210,000 เท่านั้น ซึ่งถือว่าน้อยกว่าตัวเลขคาดการณ์ทั้งสองอยู่มาก (550,000) และตัวเลขครั้งก่อนหน้า (546,000) อย่างไรก็ตาม แนวโน้มที่ลดลงนั้นยังไม่รุนแรงมากนักเทียบกับสถานการณ์การขาดแคลนแรงงานในประเทศ ทั้งนี้ ปัญหาการขาดแคลนแรงงานทำให้จำนวนพนักงานที่ถูกปลดออกในสหรัฐฯ ลดลงทำระดับต่ำสุดในรอบ 28 ปี

ดัชนี NFP ที่ต่ำอย่างผิดความคาดหมายไม่น่าจะส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อการตัดสินใจของธนาคารเฟด มีหลายเหตุผลให้เชื่อว่าธนาคารเฟดอาจเร่งจำกัดมาตรการกระตุ้นทางการเงิน (QE) ให้เร็วขึ้นในที่ประชุมวันที่ 14-15 ธันวาคมนี้ ลอเร็ตตา เมสเตอร์ ประธานธนาคารเฟดสาขาคลีฟแลนด์และเพื่อนร่วมงานของเธอ แมรี ดาเวลย์ จากสาขาซานฟรานซิสโก และราฟาเอล บอสติก จากสาขาแอตแลนตา สนับสนุนแนวคิดในการเร่งจำกัดมาตรการดังกล่าว และ แรนดาล ควาร์ลส์ รองประธานเฟดที่ใกล้จะออกจากตำแหน่งมองว่าการกระตุ้นทางการคลังและการเงินนี้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจ เขามองว่ามาตรการเหล่านี้ทำให้อุปสงค์เพิ่มขึ้นเกินความเป็นจริงจนสูงกว่าระดับก่อนเกิดภาวะโรคระบาด และภาวะเงินเฟ้อที่สูงนี้จะไม่เกิดขึ้นแค่ชั่วคราว แต่จะคงอยู่ถาวร

เจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารเฟด และ เจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ก็เชื่อเช่นกันว่า ถึงเวลาแล้วที่จะเลิกใช้คำว่า “ชั่วคราว” ซึ่งหมายถึง การคาดการณ์ระดับเงินเฟ้อจะถูกทบทวนและปรับขึ้น และกำหนดเวลาในการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะเลื่อนมาเร็วมากขึ้น

มีแนวโน้มสูงที่ความแตกต่างในนโยบายทางการเงินระหว่างของธนาคารเฟดและธนาคารกลางยุโรปจะส่งผลเป็นแรงกดดันต่อคู่ EUR/USD ต่อไป ทำให้ราคาขยับลดลงอีก ผู้เชี่ยวชาญ 50% เห็นด้วยกับคำทำนายนี้ ในขณะที่นักวิเคราะห์ 35% คงความเห็นในทางตรงกันข้าม ด้านนักวิเคราะห์อีก 15% ที่เหลือโหวตให้กับเทรนด์ด้านข้าง

อินดิเคเตอร์เทรนด์บนกรอบ D1 มีสัญญาณสีแดงครอบคลุมเป็นหลักที่ 65% แต่กลับมีความสับสนในหมู่ออสซิเลเตอร์: 40% ชี้ไปทางทิศใต้ ส่วน 35% ชี้ไปทางทิศเหนือ และอีก 25% มีท่าทีเป็นกลาง

ระดับแนวต้านอยู่ในโซนระดับ 1.1380, 1.1435-1.1465 และ 1525 โดยมีแนวรับที่ใกล้ที่สุด ได้แก่ 1.1260, 1.1235, 1.1185-1.1200 จากนั้นคือ 1.1075-1.1100

สำหรับเหตุการณ์สำคัญในสัปดาห์นี้ ควรให้ความสำคัญกับสถิติ GDP ของยูโรโซนในไตรมาสที่ 3 โดยคาดว่าความผันผวนในตลาดจะเพิ่มขึ้นในวันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม ซึ่งจะมีการประกาศดัชนี CPI ของเยอรมนีและสหรัฐฯ รวมถึงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ University of Michigan ซึ่งดัชนีนี้เป็นตัวชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในสหรัฐฯ ต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและประเมินความสมัครใจในการใช้จ่ายเงิน
GBP/USD: กลับมาสู่เส้นทางตลาดหมี?

พฤติกรรมของคู่ GBP/USD ในสัปดาห์ที่แล้วนั้นคล้ายกับคู่ EUR/USD โดยราคาตอบสนองในลักษณะเดียวกันกับคำแถลงของ เจอโรม พาวเวลล์ ต่อวุฒิสภาสหรัฐฯ และสถิติตลาดแรงงานสหรัฐฯ ทำให้ราคาปิดตลาดรอบห้าวันทำการที่ระดับ 1.3225

ความกังวลเกี่ยวกับเบร็กซิตยังคงเป็นปัจจัยหลักที่ส่งแรงกดดันต่อเงินปอนด์ ไซมอน โคเวเนย์ รัฐมนตรีต่างประเทศไอร์แลนด์กล่าวเมื่อวันที่ 3 ธันวาคมว่า ยังมีความแตกต่างอยู่มากระหว่างอียูและสหราชอาณาจักรในเรื่องการบังคับใช้ระเบียบกับไอร์แลนด์เหนือ เขากล่าวเสริมด้วยว่าการเจรจายังไม่มีความคืบหน้าจริงจัง และความแตกต่างเหล่านี้ไม่น่าจะได้รับการคลี่คลายก่อนปลายปีนี้

ราคาคู่ GBP/USD ไม่สามารถยืนเหนือระดับ 1.3300 ได้สำเร็จ นักวิเคราะห์จากธนาคาร United Overseas Bank (UOB) ของสิงคโปร์ชี้ว่า ค่าเงินปอนด์อาจอ่อนค่าลงต่อไปในเดือนธันวาคม แต่ยังยากที่จะฝ่าแนวรับที่สำคัญที่ 1.3195 (ราคาต่ำสุดวันที่ 30 พฤศจิกายน) ไปได้ หากทำสำเร็จ ราคาจะเปิดทางไปสู่แนวรับใหม่ที่ 1.3135 สำหรับฝั่งแนวโน้มกระทิง ภารกิจอันดับแรกคือการยืนเหนือระดับแนวต้านสำคัญในโซน 1.3300 และหากธนาคารแห่งชาติอังกฤษปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในวันที่ 16 ธันวาคม นี่ก็จะไม่เป็นปัญหา แนวต้านถัดไปจะอยู่ที่บริเวณ 1.3360, 1.3410, 1.3475, 1.3515, 1.3570, 1.3610, 1.3735, 1.3835.

นักวิเคราะห์ 30% หวังว่าราคาคู่นี้จะเติบโตต่อไปในอนาคตอันใกล้ ส่วน 45% คาดการณ์ว่าราคาจะขยับลงต่อ และ 25% มีท่าทีเป็นกลาง แต่อินดิเคเตอร์บนกรอบ D1 สนับสนุนฝั่งแนวโน้มตลาดหมีอย่างชัดเจน โดยอินดิเคเตอร์เทรนด์ 100% ชี้ไปทางทิศใต้ เช่นเดียวกันกับออสซิลเลเตอร์ที่มีสัญญาณ 15% บ่งชี้ว่าราคาอยู่ในโซน oversold
USD/JPY: เงินเยนไม่ยอมจำนน

คู่ USD/JPY ขยับขึ้นเหนือกรอบซื้อขายที่ 113.40-114.40 ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน และเป็นไปตามที่ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่คาดการณ์ (55%) ราคาได้ขยับลงทิศใต้ต่อไปยังระดับต่ำสุดในกรอบที่ 112.52 และทำระดับต่ำสุดใหม่ในรอบเจ็ดสัปดาห์ ตามมาด้วยการกลับตัวของเทรนด์ ทั้งนี้มีความพยายามที่ไม่สำเร็จหลายครั้งในการพลิกเทรนด์กลับมาสู่กรอบ 113.40-114.40 โดยราคาปิดตลาดที่ 112.80

เงินเยนได้รับแรงหนุนในฐานะสินทรัพย์หลบภัยจากความกังวลของนักลงทุนเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ Omicron อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ คลื่นความวิตกรอบแรกได้ผ่านไปแล้ว และข้อได้เปรียบนี้ต่อดอลลาร์ก็ค่อย ๆ ลดหายไป

ทั้งนี้ควรตระหนักด้วยว่า ญี่ปุ่นตกในที่นั่งลำบากเพราะอัตราหนี้สินต่อ GDP ประเทศนั้นสูงเกินไป และผู้เชี่ยวชาญหลายคนมองว่ามีความจำเป็นที่จะต้องใช้มาตรการกระตุ้นทางการเงินรอบใหม่ ซึ่งจะยิ่งสร้างแรงกดดันเพิ่มเติมให้กับเงินเยน เพื่อที่จะเร่งการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ

จนกว่ามาตรการนี้จะเกิดขึ้น นักวิเคราะห์จาก UOB เชื่อว่า ราคาอาจทดสอบระดับแนวรับที่ 1.1250 แต่โอกาสที่จะตัดทะลุได้สำเร็จนั้นมีไม่มาก หากราคาทำสำเร็จก็จะต้องเจอกับอุปสรรคถัดไปในบริเวณ 111.85-112.00 ซึ่งผู้เชี่ยวชาญจากธนาคาร Credit Suisse ชี้ว่า ราคาจำเป็นต้องขึ้นไปยืนเหนือโซน 113.70-114.00 ให้สำเร็จเพื่อคงแนวโน้มกระทิง และจากนั้นจะต้องฝ่าแนวต้านที่ 114.80 นี่จะเป็นการเริ่มต้นที่ดีเพื่อไปสู่ระดับสูงสุดในรอบห้าปีที่ 115.52 ที่ราคาเคยทำไว้เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน

ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ (55%) กำลังเข้าข้างฝั่งตลาดกระทิงในขณะนี้ โดย 25% เห็นด้วยกับแนวโน้มตลาดหมี และ 20% คาดการณ์การเคลื่อนที่ในกรอบด้านข้าง ส่วนออสซิลเลเตอร์ 90% ยังคงชี้ไปทางทิศใต้ แต่หนึ่งในสี่ของสัญญาณนี้อยู่ในโซน oversold และ 10% ที่เหลือหันไปทางทิศเหนือ อัตราส่วนอยู่ที่ 65% ต่อ 35% ในหมู่อินดิเคเตอร์เทรนด์ซึ่งมีฝั่งสีแดงเป็นฝ่ายได้เปรียบ

ระดับแนวต้าน ได้แก่ 113.40, 113.70, 114.00, 114.40, 114.70, 115.00 และ 115.50 ส่วนเป้าหมายระยะยาวของตลาดกระทิง คือ ระดับสูงสุดของเดือนธันวาคมปี 2016 ที่ 118.65 โดยมีแนวรับที่ใกล้ที่สุดที่ 112.50, จากนั้นคือ 112.00 และ 111.65

ในส่วนสถิติเศรษฐกิจมหภาคนั้นจะมีการประกาศดัชนี GDP ของญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 3 ในวันพุธที่ 8 ธันวาคม ดัชนีนี้คาดว่าจะขยับจากติดลบ (-0.8% ในไตรมาสที่ 2) เป็นบวกปานกลางคือ 0.4%
.
กลุ่มนักวิเคราะห์ NordFX
.
สนใจสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ th.support@nordfx.com #NORDFX #FOREX #TRADE #PROFIT #เทรด #กำไร #ทอง #ข่าวสาร #cryptocurrencynews #Bitcoin #News
เปิดร้านค้าออนไลน์ฟรี
แชร์   |    แจ้ง / รายงานสินค้า

ให้คะแนนสินค้า

กำลังโหลดรีวิว..