บทวิเคราะห์ฟอเร็กซ์ประจำวันที่ 22 -26 พฤศจิกายน 2021

บ้านโคก / อุตรดิตถ์

22 พ.ย. 2564 เวลา 12:19 น.

เก็บไว้ดูภายหลัง
ราคา 1 บาท
เข้าชม 279 ครั้ง
รายละเอียดสินค้า
บทวิเคราะห์ฟอเร็กซ์ประจำวันที่ 22 -26 พฤศจิกายน 2021

EUR/USD: เข้าใกล้จุดดุลยภาพ

ในหัวข้อของบททบทวนคู่ EUR/USD ครั้งที่แล้ว เราได้ระบุสมการแบบสั้นว่า “การเติบโตของเงินเฟ้อ = การเติบโตของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ” และเหตุการณ์เมื่อสัปดาห์ที่แล้วก็ยืนยันถึงความเท่ากันดังกล่าว ข้อมูลภาคการค้าปลีกในสหรัฐฯ ที่เผยแพร่เมื่อวันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน บ่งชี้ว่า ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ กลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง และดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY index) จะกลับมามีมูลค่าเท่ากับเมื่อ 1.5 ปีที่แล้ว และกลับมามีค่าสูงสุดในปีค.ศ. 2021 ยอดค้าปลีกในเดือนตุลาคมเพิ่มขึ้น 1.7% จากที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ 1.4% (การเติบโตในเดือนกันยายนน้อยกว่าสองเท่า อยู่ที่ 0.8%) อินดิเคเตอร์กลุ่มควบคุมการค้าปลีก (retail control group indicator) เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยเพิ่มขึ้น 1.6% ในเดือนตุลาคม (จากการคาดการณ์ที่ 0.9% และการเติบโตเมื่อเดือนที่แล้วอยู่ที่ 0.5%) ทั้งนี้ อินดิเคเตอร์ดังกล่าวแสดงถึงปริมาณการค้าปลีกในอุตสาหกรรมทั้งหมด และใช้คำนวนดัชนีราคาลูกโซ่สำหรับสินค้าส่วนใหญ่

นักลงทุนยังพอใจกับข้อมูลของการผลิตภาคอุตสาหกรรมและตลาดที่อยู่อาศัยในสหรัฐฯ เป็นผลให้คู่ EUR/USD ตกลงไปที่ 1.1263 เมื่อวันพุธที่ 17 พฤศจิกายน.

เป็นที่แน่ชัดว่า ในสถานการณ์ปัจจุบัน ตลาดสนใจที่สุดว่าสถิติมหภาคตัวใดที่จะส่งผลต่ออัตราการลดนโยบายกระตุ้นทางการเงิน (มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ) และการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยโดยธนาคารกลางต่างๆ ข้อมูลที่เผยแพร่เมื่อสัปดาห์ที่แล้วทำให้นักลงทุนต้องการสนับสนุนให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ เพิ่มอัตราดอกเบี้ยเร็วขึ้น จอห์น วิลเลียมส์ ประธานธนาคารกลางนิวยอร์ก ระบุว่า เศรษฐกิจของประเทศกำลังฟื้นตัวอย่างสม่ำเสมอ และการจ้างงานในสหรัฐฯ เติบโตขึ้นมาก การว่างงานลดลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน ทางด้านเจมส์ บัลลาร์ด ประธานธนาคารกลางเซนต์หลุยส์ ระบุว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ ควรมีท่าทีเชิงรุกมากกว่านี้ ซึ่งหากธนาคารกลางสหรัฐฯ เร่งการลดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณให้เหลือเดือนละ $30,000 ล้าน จะเป็นการเปิดโอกาสให้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยในไตรมาสที่หนึ่งของปีค.ศ. 2022 ได้ ทางด้านราฟาเอล บอสติค ประธานธนาคารกลางแอตแลนตา ผู้ถือว่าเป็น “สายรัดกุม” อีกราย เชื่อว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจเริ่มเพิ่มอัตราดอกเบี้ยได้ในกลางปีหน้า และแม้แต่ “สายผ่อนคลาย” อย่างชาร์ลส์ อีวานส์ ประธานธนาคารกลางชิคาโก ก็เห็นด้วยว่า “การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในปีค.ศ. 2022 อาจเป็นเรื่องที่เหมาะสม”

สำหรับนักวิเคราะห์นั้น แบงค์ออฟอเมริกาเชื่อว่า การเพิ่มราคาและค่าแรงจะกดดันให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ เพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในฤดูร้อนของปีค.ศ. 2022 หรืออาจจะเร็วกว่านั้น ผู้เชี่ยวชาญของรอยเตอร์คาดการณ์แบบอนุรักษ์นิยมว่า อัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มเป็นครั้งแรกในไตรมาสทีสี่ของปีค.ศ. 2022 ตามมาด้วยการเพิ่มอัตราดอกเบี่ยอีกสองครั้งในไตรมาสแรกและไตรมาสที่สองของปีค.ศ. 2023 และจะเป็นผลให้อัตราดอกเบี้ยแตะที่ 1.25-1.5% ในสิ้นปีดังกล่าว

แม้เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเติบโต แต่เขตยูโรโซนกลับเผชิญกับวิกฤตพลังงานและสงครามเศรษฐกิจกับอังกฤษที่ใกล้เข้ามา ข้อมูลเบื้องต้นของจีดีพียูโรโซนในไตรมาสที่สาม ที่เผยแพร่เมื่อวันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน แสดงให้เห็นว่าไม่มีการเติบโตแม้แต่เล็กน้อย แต่อย่างน้อยก็เศรษฐกิจก็ไม่ได้ทรุดตัวลง

คริสติน ลาการ์ด ประธานธนาคารกลางยุโรป กล่าวกับรัฐสภายุโรปว่า การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในปีค.ศ. 2022 ไม่เกี่ยวข้องกับแผนของธนาคารกลางยุโรป เนื่องจากจะไม่มีการใช้เงื่อนไขข้อจำกัดทางการเงินในปีที่จะถึงนี้ โดยทางธนาคารเห็นว่า การรัดกุมนโยบายทางการเงินในสถานการณ์เช่นนี้จะส่งผลเสียมากกว่าผลดี

ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงไม่เพียงแต่เมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เท่านั้น แต่ยังอ่อนลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นด้วย หลังจากลาการ์ดแสดงความเห็นดังกล่าว ค่าเงินอังกฤษช่วยค่าเงินยูโรเล็กน้อยโดยเงินเฟ้อที่สูงเป็นสถิติใหม่ของอังกฤษทำให้คู่ GBP/USD สูงขึ้น และดึงคู่ EUR/USD ขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้ ยังมีอีกสองปัจจัยที่เอื้อต่อค่าเงินยูโร ปัจจัยแรกคือการอัพเดทครั้งที่ 66 ของดัชนี S&P 500 ทำให้ดัชนีมีมูลค่าสูงสุดในปีนี้ ปัจจัยที่สองคือความเป็นไปได้ที่เจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจลาออก และอาจมีการแต่งตั้งลาเอล เบรนาร์ด ซึ่งคาดว่ามีท่าทีสนับสนุนนโยบายการเงินที่อ่อนกว่า ให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวแทน

นักลงทุนจำนวนมากที่เล็งเห็นถึงปัจจัยดังกล่าว ตัดสินใจทำกำไรในช่วงระยะสั้นๆ นี้ แต่ก็ช่วยค่าเงินยูโรได้เพียงในระยะสั้นเท่านั้น คู่ EUR/USD เคยขึ้นไปที่ 1.1373 และกลับมาลดลงจนไปแตะที่ 1.1250 ซึ่งเป็นค่าต่ำสุดเป็นสถิติใหม่ในประเทศ และปิดตัวรอบการซื้อขายที่ 1.1288

หากเราตีความสถานการณ์ที่เกิดขึ้นบนสองฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติคนี้เป็นภาษาทหาร สถานการณ์ในปัจจุบันยังไม่ถึงจุดสู้รบกันเลยด้วยซ้ำ เนื่องจากทั้งสองฝั่งยังไม่ขึ้นอัตราภาษี สถานการณ์ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์และแถลงการณ์จาก “เสนาธิการ” หรือประธานธนาคารกลางต่างๆ อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างของการเติบโตทางเศรษฐกิจ และความแตกต่างของนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ และธนาคารกลางยุโรป ก็อาจฉุดค่าของคู่ EUR/USD ลงไปอีก และอาจลงไปได้มากกว่านี้ ทั้งนี้ คู่ดังกล่าวเคยอยู่ในระดับ 1.0635 เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 2020 อยู่ที่ 1.0352 เมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 2016 และลงไปต่ำกว่าเส้นดุลยภาพที่ 0.8225 เมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 2000

อินดิเคเตอร์ที่ D1 ยืนยันการคาดการณ์แนวโน้มตลาดหมีที่มีทิศทางลง ซึ่งอยู่ที่ 100% ในบรรดาอินดิเคเตอร์เทรนด์ทั้งหลาย เช่นเดียวกับออสซิลเลเตอร์ แม้ว่าออสซิลเลเตอร์ 15% จะอยู่ในโซนที่มีแรงขายมากเกินไปก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญ 35% เห็นว่าจะมีการปรับฐานและการเติบโตของคู่นี้ในระยะสั้น อีก 50% เห็นว่าคู่นี้จะตกลงต่อไปอีก และอีก 15% เห็นว่า คู่นี้จะเคลื่อนตัวไปทางด้านข้าง ระดับแนวต้านอยู่ในโซนและระดับ 1.1315, 1.1360, 1.1435-1.1465 และ 1525 ส่วนระดับแนวรับที่ใกล้ที่สุดอยู่ที่ 1.1250, 1.1175 และ 1.1075-1.1100 และลดลงไปอีก 100 จุด

สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจมหภาคที่กำลังจะเผยแพร่นั้น ข้อมูลเบื้องต้นของกิจกรรมเศรษฐกิจ (Markit) ในเยอรมนีและเขตยูโรโซนจะเผยแพร่ในวันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน และจะมีการเผยแพร่ปริมาณการสั่งซื้อสินค้าทุนและสินค้าคงทนในสหรัฐฯ และข้อมูลเบื้องต้นของจีดีพีสหรัฐฯ ในไตรมาสที่สามในวันถัดมา นอกจากนี้ จะมีการเผยแพร่บันทึกการประชุมของคณะกรรมการธนาคารกลางสหรัฐฯ ในวันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน เพื่อให้นักลงทุนศึกษาว่า บุคคลระดับสูงในหน่วยงานดังกล่าวจะมีท่าที “รัดกุม” มากน้อยเพียงใด
GBP/USD: รออัตราค่าเงินปอนด์ขึ้น

ตามที่กล่าวไปข้างต้น เงินเฟ้อในอังกฤษแตะที่ 4.2% ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ปีค.ศ. 2011 (เงินเฟ้อในอังกฤษเคยอยู่ที่ 3.1% ในเดือนกันยายน) เงินเฟ้อสูงขึ้นขณะที่ราคาพลังงานสูงขึ้นและปัญหาสินค้าจัดส่งที่แย่ลง อย่างไรก็ตาม ดัชนีราคาผู้บริโภค ซึ่งไม่รวมราคาอาหารและพลังงานที่ผันผวน มีค่าสูงขึ้น 3.4% (2.9% เมื่อเดือนที่แล้ว) นักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากระบุว่า ราคาผู้บริโภคจะเพิ่มขึ้นต่อไปในไม่กี่เดือนข้างหน้านี้

สถิติดังกล่าวทำให้มีความเป็นไปได้เพิ่มขึ้นว่า ธนาคารแห่งประเทศอังกฤษจะตัดสินใจเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของเงินปอนด์ในเดือนธันวาคมนี ซึ่งทำให้คู่ GBP/USD พุ่งขึ้นกลับมาจากค่าต่ำสุดเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน ที่อยู่ที่ 1.3352 ซึ่งคู่นี้มีมูลค่าลดลงหลังสหรัฐฯ มีแรงกดดันเงินเฟ้อสูงที่สุดในรอบ 30 ปี

โดยทั่วไปแล้ว สถิติเศรษฐกิจมหภาคของอังกฤษค่อนข้างเป็นไปในทิศทางดีเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว และช่วยสนับสนุนค่าเงินปอนด์

ข้อมูลที่เผยแพร่เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาระบุว่า จำนวนการจ้างงานในอังกฤษเพิ่มขึ้น 160,000 ตำแหน่งในเดือนตุลาคม ตัวเลขนี้มีความสำคัญโดยเฉพาะต่อข้อเท็จจริงที่ว่า โครงการเงินอุดหนุนช่วยเหลือค่าจ้างในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 ได้ยุติไปแล้วในเดือนกันยายน ผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากเคยคาดการณ์ว่า นายจ้างจะเริ่มลดตำแหน่งงานลงหลังโครงการนี้สิ้นสุดลง อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ดังกล่าวกลับไม่เกิดขึ้นและตลาดแรงงานยังคงฟื้นตัวต่อไป อัตราการว่างงานอังกฤษลดลงเหลือ 4.3% ในไตรมาสที่สาม

แอนดริว ไบเลย์ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ กล่าวเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายนเกี่ยวกับการควบคุมเงินเฟ้อ โดยเขาไม่ตัดความเป็นไปได้ในการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่ากำหนด อินดิเคเตอร์ที่เผยแพร่ในขณะที่ทำให้นักลงทุนสายกระทิงเดินหน้าและเพิ่มคู่ดังกล่าวที่ 1.3513 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน อย่างไรก็ตาม คู่ดังกล่าวก็มีทิศทางกลับ และปิดตัวในช่วงห้าวันที่ 1.3444

หากอัตราดอกเบี้ยของค่าเงินปอนด์เพิ่มขึ้นในเดือนธันวาคม เราสามารถคาดการณ์ได้ว่าคู่ GBP/USD จะโตไปอยู่ในโซน 1.3800-1.3900 อย่างไรก็ตาม แม้สถานการณ์ดังกล่าวจะยังไม่เกิดขึ้น แต่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ (75%) คาดว่าคู่นี้จะมีมูลค่าลดลง โดยมีเพียง 25% ที่เห็นว่าคู่นี้จะมีแนวโน้มกระทิง

สำหรับออสซิลเลเตอร์ใน D1 นั้น 80% เป็นสีแดง 10% เป็นสีเขียวและอีก 10% เป็นสีเทาอยู่ตรงกลาง อินดิเคเตอร์เทรนด์ 100% ยังคงเป็นสีแดง ระดับแนวรับอยู่ที่ 1.3400, 1.3350, 1.3200 เป้าหมายของตลาดหมีอยู่ที่ 1.3135 ระดับแนวต้านและเป้าหมายของตลาดกระทิงอยู่ที่ 1.3475, 1.3515, 1.3570, 1.3610, 1.3735, 1.3835

สำหรับสถิติมหภาคที่จะเผยแพร่ในสัปดาห์หน้านั้น ควรจับตาดูดัชนีกิจกรรมภาคธุรกิจของอังกฤษ (PMI) ในวันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน อินดิเคเตอร์นี้เผยแพร่โดยสถาบัน Chartered Institute of Procurement and Supply ร่วมกับบริษัท Markit Economics โดยเป็นอินดิเคเตอร์ที่บ่งชี้สถานการณ์เศรษฐกิจในภาคการขายและการจ้างงาน แต่ก็ยังไม่สำคัญเท่าดัชนี PMI ภาคการผลิตของประเทศ
USD/JPY: ยังคงมุ่งหน้าไปทางตะวันออก

ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ลดมาตรการกระตุ้นทางการเงิน และธนาคารกลางยุโรปคงมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณที่ระดับที่แล้ว ทางฝั่งรัฐบาลญี่ปุ่นประกาศใช้โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 55.7 ล้านล้านเยน ($487,000 ล้าน) เมื่อวันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน ญี่ปุ่นหวังว่า มาตรการดังกล่าวจะช่วยเพิ่มจีดีพีของประเทศขึ้น 5.6% ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นระบุว่า จะใช้นโยบายทางการเงินที่เหมาะสม และติดตามทิศทางของตลาดและผลกระทบของการระบาดของโรคโควิด-19 ต่อเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด

“เราหวังว่าธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นจะตระหนักดีถึงความเร่งด่วนของมาตรการนี้ และจะร่วมมือกับรัฐบาลอย่างใกล้ชิดต่อไปเพื่อให้ได้นโยบายทางการเงินและการคลังที่เหมาะสม” คณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นระบุในแถลงการณ์

คู่ USD/JPY มีทิศทางอย่างไรต่อข่าวนี้? คู่นี้ไม่ได้เคลื่อนไหวได้ๆ เลย ซึ่งคู่ที่ปลอดภัยสำหรับนักลงทุนควรนิ่งสงบในทุกสถานการณ์

โดยทั่วไปแล้ว ทิศทางของคู่นี้เป็นไปตามการคาดการณ์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าคู่นี้จะเพิ่มขึ้นและทะลุขอบบนของช่อง 113.40-114.40 และอาจมีค่าสูงสุดในรอบหลายปี ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง โดยคู่ดังกล่าวไปอยู่ที่ 114.96 เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน อย่างไรก็ตาม แนวโน้มตลาดกระทิงก็หายไป และคู่นี้ก็กลับลงมาที่ช่วงการซื้อขายตรงกลาง และปิดตัวที่แดนตรงกลางที่ระดับ 114.00

เมื่อพิจารณาจากนโยบายการเงินที่อ่อนมากของธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น และการเพิ่มการควบคุมเส้นผลตอบแทนแล้ว มีความเป็นไปได้สูงว่าค่าเงินเยนจะอ่อนค่าลง และคู่ USD/JPY จะเติบโตขึ้นต่อไป โดยคู่ดังกล่าวจะไม่เพียงพุ่งขึ้นไปอยู่ในช่วง 115.00-116.00 เท่านั้น แต่จะสร้างฐานที่ช่วงนั้น และมีมูลค่าสูงสุดนับตั้งแต่ปีค.ศ. 2017 แน่นอนว่า การตัดสินใจของธนาคารกลางสหรัฐฯ ต่ออัตราดอกเบี้ยและผลตอบแทนพันธบัตร จะส่งผลต่อทิศทางของคู่นี้ด้วยเช่นกัน

ผลจากทิศทางถอยหลังของคู่นี้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ออสซิลเลเตอร์ใน D1 จึงเป็นไปอย่างสับสนมาก โดย 20% ชี้ขึ้น 40% ชี้ลง และอีก 40% ชี้ไปทางตะวันออก เช่นเดียวกับอินดิเคเตอร์เทรนด์ที่ไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดย 60% มีทิศทางขึ้น และอีก 40% มีทิศทางลง

นักวิเคราะห์ก็มีท่าทีหลากหลายเช่นกัน โดยนักวิเคราะห์ 40% คาดว่าคู่นี้จะเติบโต อีก 40% เห็นว่าคู่นี้จะลดลง และอีก 20% มีท่าทีเป็นกลาง ระดับแนวต้านอยู่ที่ 114,40, 114.70, 115.00 และ 115.50 เป้าหมายของตลาดกระทิงในระยะยาวอยู่ที่ค่าเมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 2016 ที่อยู่ที่ 118.65 ส่วนระดับแนวรับที่ใกล้ที่สุดอยู่ที่ 113.40, 112.70, 112.00 และ 111.65
ลูกค้าของบริษัทโบรคเกอร์ NordFX ยังคงสะสมตั๋วล็อตเตอรี่อย่างต่อเนื่อง: การจับฉลากซูเปอร์ ล็อตเตอรี ประจำปีใหม่ จะเริ่มขึ้นในเร็วๆ นี้ ยิ่งมีตั๋วล็อตเตอรี่มาก ยิ่งมีโอกาสได้รางวัลมากกว่าหนึ่งรางวัลมาก รางวัลมีมูลค่าตั้งแต่ $500-$20,000

เงินนี้จะมีประโยชน์กับคุณไม่ใช่หรือ?

วิธีการเข้าร่วมง่ายมาก รายละเอียดทั้งหมดอยู่บนเว็บไซต์ของ NordFX

กลุ่มนักวิเคราะห์ NordFX
.
สนใจสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ th.support@nordfx.com #NORDFX #FOREX #TRADE #PROFIT #เทรด #กำไร #ทอง #ข่าวสาร #cryptocurrencynews #Bitcoin #News
เปิดร้านค้าออนไลน์ฟรี
แชร์   |    แจ้ง / รายงานสินค้า

ให้คะแนนสินค้า

กำลังโหลดรีวิว..