บทวิเคราะห์ฟอเร็กซ์และคริปโตเคอเรนซีประจำวันที่ 8-12 พฤศจิกายน 2021

บ้านโคก / อุตรดิตถ์

8 พ.ย. 2564 เวลา 17:43 น.

เก็บไว้ดูภายหลัง
ไม่ระบุราคา
เข้าชม 255 ครั้ง
รายละเอียดสินค้า
บทวิเคราะห์ฟอเร็กซ์และคริปโตเคอเรนซีประจำวันที่ 8-12 พฤศจิกายน 2021
EUR/USD: จับตาตลาดแรงงานสหรัฐฯ

เหตุการณ์สำคัญเมื่อสัปดาห์ที่แล้วคือการประชุมระหว่างหน่วยงานกำกับดูแลสองหน่วยงาน ได้แก่ ธนาคารกลางสหรัฐฯ และธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ นักเทรดยังสนใจข้อมูลจากตลาดแรงงานสหรัฐฯ รวมถึงอินดิเคเตอร์สำคัญเช่น ดัชนี NFP ซึ่งเป็นจำนวนตำแหน่งงานนอกภาคการเกษตร

ธนาคารกลางสหรัฐฯ ประกาศใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณมูลค่า $120,000 ล้านในเดือนนี้ตามที่คาดการณ์ไว้ และจะซื้อสินทรัพย์ลดลง $10,000 ล้าน เหลือ $70,000 ล้านในเดือนพฤศจิกายน รวมทั้งซื้อหุ้นกู้ที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นประกันลดลง $5,000 ล้าน เหลือ $35,000 ล้าน และจะมีการลดปริมาณการซื้อคืนโดยใช้หลักทรัพย์เป็นเครื่องมือที่ระดับเดิม ที่ $15,000 ล้าน ในเดือนธันวาคม

นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ กล่าวถึงผลการประชุมว่า ยังไม่ถึงเวลาเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเนื่องจากตลาดแรงงานยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ โดยคาดว่าอาจฟื้นตัวภายในกลางปีค.ศ. 2022 ซึ่งธนาคารกลางสหรัฐฯ จะรอดูท่าทีจนถึงขณะนั้น นายพาวเวลล์ยังระบุด้วยว่า อาจมีการปรับการลดแรงจูงใจในช่วงต้นปีหน้า ทั้งต่อการเร่งตัวและการชะลอตัว โดยขึ้นอยู่กับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ

คำกล่าวของประธานระบบธนาคารกลางสหรัฐฯ ทำให้เข้าใจได้ว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังคงมีท่าทีเตรียมถอย และไม่ควรคาดหวังว่าธนาคารกลางจะลดนโยบายการเงินที่อ่อนมากอยู่แล้วลงในช่วงนี้ การคาดการณ์ดังกล่าวทำให้ดัชนีหุ้นกลับมาสูงขึ้นอีกครั้ง และทำให้ดัชนีดาวโจนส์ ดัชนี S&P 500 และดัชนีแนสแดค พุ่งสูงขึ้นเป็นสถิติใหม่อีกครั้ง

(ควรทราบว่า การทำธุรกรรมกับดัชนีแนสแดค 100 หรือ Ustec.c ทำให้นักเทรดรายหนึ่งกลายเป็นหนึ่งในลูกค้าของ NordFX ที่มีผลงานดีที่สุด โดยทำกำไรไปได้ $38.124 ในเดือนตุลาคม)

ธนาคารกลางสหรัฐฯ พร้อมออกและปรับเปลี่ยนการตัดสินใจขึ้นอยู่กับสถานการณ์ตลาด อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางยุโรปกลับเชื่อว่าตลาดมีความผิดปกติอ โดยนางคริสติน ลาการ์ด ประธานธนาคารกลางยุโรป กล่าวเมื่อวันพุธที่ 3 พฤศจิกายนว่า สภากรรมการของทางธนาคารกลางได้กำหนดเงื่อนไขเพิ่มอัตราดอกเบี้ยสามเงื่อนไข และเงื่อนไขทั้งสามจะยังไม่เกิดขึ้นในปีค.ศ. 2022

นักลงทุนไม่พอใจต่อสถิติระดับมหภาคในเขตยูโรโซนเช่นกัน โดยดัชนีรวม (composite PMI) ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่สาม และปริมาณคำสั่งซื้อของภาคอุตสาหกรรมในเยอรมนีเพิ่มขึ้นเพียง 1.3% ในเดือนกันยายน แม้ว่าปริมาณดังกล่าวจะลดลง 8.8% ในเดือนสิงหาคมก็ตาม นอกจากนี้ การเติบโตของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในประเทศเขตยูโรโซนซึ่งมีสาเหตุจากการขายเชิงรุก ก็เป็นเรื่องที่ควรเฝ้าระวัง เนื่องจากเป็นสัญญาณถึงวิกฤตหนี้ได้

ปัจจัยทั้งหมดนี้กดดันสกุลเงินยูโรอย่างมากและทำให้ค่าเงินตกลง และทำให้คู่ EUR/USD ที่เริ่มใหม่ในเดือนตุลาคม ตกลงเช่นกัน

ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ กำหนดเรื่องที่ธนาคารต้องจัดการก่อนโดยให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูตลาดแรงงาน ทิศทางของตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น ปกติแล้ว รายงานตัวเลขดังกล่าวจะออกทุกวันศุกร์แรกของเดือน โดยในเดือนนี้ออกเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน ข้อมูลในรายงานระบุว่า ตัวเลขการจ้างงานใหม่ในเดือนตุลาคมอยู่ที่ 531,000 ตำแหน่ง (ก่อนหน้านี้ มีการคาดการณ์ที่ 425,000 ตำแหน่ง และตัวเลขก่อนหน้านี้อยู่ที่ 312,000 ตำแหน่ง) นอกจากนี้ อัตราการว่างงานลดลงไปอยู่ที่ 4.6% จากเดิมที่ 4.8% ในเดือนกันยายน อย่างไรก็ตาม ดัชนีหุ้นกลับพุ่งสูงกว่าเดิม ส่วนคู่ EUR/USD นั้น หลังมีการปรับฐานแล้ว มีค่าประจำสัปดาห์อยู่ที่ 1.1567

อินดิเคเตอร์ส่วนใหญ่ใน D1 จะมีทิศทางลง ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้น 100% กับอินดิเคเตอร์เทรนด์เช่นเดียวกับออสซิลเลเตอร์ อย่างไรก็ตาม ในช่วงสิ้นสุดสัปดาห์ อินดิเคเตอร์ 10% กลับมีทิศทางอยู่ตรงกลาง 10% อยู่ในโซนที่มีแรงขายมากเกินไป และอีก 10% มีทิศทางขาขึ้น

ผู้เชี่ยวชาญ 25% เห็นว่า คู่ดังกล่าวจะเติบโตขึ้น อีก 25% เห็นว่า คู่นี้จะลดค่าลง และอีก 50% เห็นว่า คู่นี้จะเคลื่อนที่ไปด้านข้าง โดยระดับแนวรับอยู่ที่ 1.1535, 1.1500, 1.1485, 1.1425 และ 1.1250 และระดับแนวต้านอยู่ที่ 1.1575, 1.1615, 1.1665, 1.1715, 1.1800, 1.1910

ในส่วนของสถิติเศรษฐกิจมหภาคที่จะกำลังจะเผยแพร่นั้น ข้อมูลของตลาดผู้บริโภคในเยอรมนีและสหรัฐฯ จะเผยแพร่ในวันพุธที่ 10 พฤศจิกายน และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเบื้องต้นโดยมหาวิทยาลัยมิชิแกน จะเผยแพร่ในวันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน ดัชนีดังกล่าวเป็นอินดิเคเตอร์ของความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในสหรัฐฯ ต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ และประเมินว่าพวกเขายินดีใช้จ่ายเงินมากเท่าใด
GBP/USD: แรงสั่นสะเทือนจากธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ

สัญญาณเตือนถึงภาวะเศรษฐกิจชะงักงันและเงินเฟ้อจากการเติบโตของจีดีพีที่ต่ำและเงินเฟ้อสูง เป็นอันตรายอย่างมากต่อเศรษฐกิจอังกฤษที่ยังได้รับแรงกดดันจากเบร็กซิท ผู้เชี่ยวชาญของธนาคารแห่งประเทศอังกฤษคาดการณ์ว่า อัตราเงินเฟ้อประจำปีจะเพิ่มขึ้นราว 5% ภายในเดือนเมษายน ค.ศ.2022 และจะลดลงไปอยู่ในระดับที่ตั้งเป้าไว้ที่ 2% ภายในสิ้นปีค.ศ.2022 ซึ่งเป็นอัตราที่สูงมาก นายแอนดรูว์ เบลีย์ ผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ กล่าวเมื่อไม่กี่วันก่อนการประชุมของทางธนาคารว่า เมื่อพิจารณาจากอินดิเคเตอร์ดังกล่าวแล้ว อาจต้องมีการดำเนินการและเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่วางแผนไว้ ด้วยเหตุนี้ ตลาดจึงคาดว่าธนาคารแห่งประเทศอังกฤษจะเพิ่มอัตราที่สำคัญในเดือนพฤศจิกายน แต่ก็ผิดหวังเนื่องจากไม่เป็นไปตามที่คาดไว้

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ ลงคะแนน 7 ต่อ 2 เสียงให้รักษาอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 0.1% และลงคะแนน 6 ต่อ 3 เสียง ให้รักษาปริมาณการซื้อสินทรัพย์ที่ £895,000 ล้าน นักลงทุนผิดหวังกับการตัดสินใจของทางธนาคาร ส่งผลให้สกุลเงินปอนด์ลดค่าลงอย่าหนัก คู่ GBP/USD ถึงจุดต่ำสุดในประเทศ โดยตกลง 270 จุด อยู่ที่ 1.3425 และปิดตัวในช่วงสิ้นสุดสัปดาห์ในจุดเดียวกันที่ 1.3425

นายแอนดรูว์ เบลีย์ มีท่าทีต่อเสียงวิจารณ์ว่าเขาทำให้นักลงทุนเข้าใจผิด โดยกล่าวว่า “เราไม่เคยสัญญาว่าอัตราจะเพิ่มขึ้นในเดือนพฤศจิกายน” และ “งานของผมไม่ใช่การจัดการตลาด” อย่างไรก็ตาม ซิลวานา เทนรีโร สมาชิกภายนอกของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ มีท่าทีที่อ่อนกว่า โดยระบุว่า ธนาคารกลางไม่ควรมีท่าทีต่อแรงสั่นสะเทือนในระยะสั้น และปัญหาอุปทานสินค้าจะรุนแรงน้อยลงในปีหน้า อย่างไรก็ตาม นายเดฟ แรมส์เดน รองประธานธนาคารแห่งนี้ มีท่าทีตรงกันข้าม โดยเขาระบุว่า เขาลงคะแนนให้มีการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเนื่องจากปัญหาขาดแคลนแรงงานชัดเจนมากยิ่งขึ้น

นักวิเคราะห์ส่วนหนึ่งระบุว่า มีความคาดหวังเพิ่มขึ้นว่าอังกฤษจะใช้มาตรา 16 ของข้อตกลงการออกจากสหภาพยุโรป โดยมาตราดังกล่าวจะอนุญาตให้หนึ่งในประเทศหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องระงับธุรกรรมของเบร็กซิทบางส่วน หากธุรกรรมดังกล่าวทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจหรือปัญหาอื่นๆ อย่างไรก็ตาม หากมีการดำเนินการดังกล่าว ท่าทีของสหภาพยุโรปอาจรุนแรงกว่าที่รัฐบาลอังกฤษคาดไว้ และสถานการณ์นี้จะส่งแรงกดดันต่อค่าเงินปอนด์ต่อไป

ข้อมูลเบื้องต้นของจีดีพีอังกฤษในไตรมาสที่สามจะเผยแพร่ในวันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน และอาจส่งผลต่อทิศทางตลาดเช่นเดียวกับสถิติมหภาคจากสหรัฐฯ ในขณะเดียวกัน ผู้เชี่ยวชาญ 55% เห็นว่า ตลาดจะมีทิศทางเป็นตลาดหมี ผู้เชี่ยวชาญ 35% และกราฟฟิควิเคราะห์ใน D1 เห็นว่า ตลาดจะมีทิศทางเป็นตลาดกระทิง และผู้เชี่ยวชาญอีก 10% มีท่าทีเป็นกลาง

ออสซิลเลเตอร์ใน D1 จำนวน 75% เป็นสีแดง และอีก 25% ระบุว่า คู่มีแรงขายมากเกินไป อินดิเคเตอร์เทรนด์ 100% ยังเป็นสีแดง ระดับแนวรับอยู่ที่ 1.3470, 1.3420, 1.3380, 1.3200 ในขณะที่เป้าหมายของตลาดหมีอยู่ที่ 1.3135 ส่วนระดับแนวต้านและเป้าหมายของตลาดกระทิงอยู่ที่ 1.3510, 1.3570, 1.3610, 1.3735, 1.3835
USD/JPY: มีเทรนด์ไปทางด้านข้างอีกครั้ง

กราฟในช่วงสามสัปดาห์ที่ผ่านมาแสดงทิศทางขาขึ้นที่ชะลอตัวลงของคู่ USD/JPY ซึ่งได้เปลี่ยนไปเคลื่อนตัวทางด้านข้างแทน โดยอยู่ในช่วง 113.40-114.40 ค่าเงินเยนพุ่งสูงขึ้นหลังผลตอบแทนพันธบัตรในส่วนของพันธบัตร 10 ปีลดลงมาอยู่ที่ 1.53% และยังแข็งค่าขึ้นจนถึงช่วงสิ้นสุดสัปดาห์ และปิดตัวในแดนที่ต่ำกว่าเดิมของกรอบราคานี้

สถานการณ์ในขณะนี้ได้รับการยืนยันโดยความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญและการวิเคราะห์อินดิเคเตอร์ โดยนักวิเคราะห์ 50% คาดหวังว่า คู่นี้จะกลับมาอยู่ในแดนบวกที่กรอบราคาช่วง 113.40-114.40 นักวิเคราะห์ 25% เห็นว่า คู่นี้จะเคลื่อนที่ไปกับจุดหมุน (pivot point) ที่ 113.00 และอีก 25% เห็นว่า คู่นี้จะตกอยู่บริเวณ 112.00 อย่างไรก็ตาม พึงทราบไว้ว่า การคาดการณ์รายเดือนแตกต่างจากการคาดการณ์รายสัปดาห์ โดยนักวิเคราะห์รายเดือน 50% เห็นว่า คู่นี้จะตกอยู่บริเวณ 112.00

นอกจากนี้ ค่าของออสซิลเลเตอร์ต่างๆ ในD1 ยังเป็นไปในทิศทางที่ไม่ตรงกัน โดยออสซิลเลเตอร์ 35% มีทิศทางขาขึ้น 40% มีทิศทางขาลง 15% ส่งสัญญาณว่ามีแรงขายมากเกินไป และอีก 10% มีทิศทางคงเดิม นอกจากนี้ อินดิเคเตอร์เทรนด์ยังมีทิศทางเสมอตัว โดยอินดิเคเตอร์เทรนด์ 50% ไปทางแดนเขียว ในขณะที่อีก 50% ไปทางแดนแดง ระดับแนวต้านอยู่ที่ 113.70, 114.40, 114.70 และ 115.50 โดยเป้าหมายของตลาดกระทิงในระยะยาวอยู่ที่ 118.65 ซึ่งเป็นระดับที่เคยทำได้เมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 2016 ในขณะที่ระดับแนวรับที่ใกล้ที่สุดอยู่ที่ 113.25 และเป้าหมายต่อไปอยู่ที่ 112.00 และ 111.65
.
กลุ่มนักวิเคราะห์ NordFX
.
สนใจสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ th.support@nordfx.com #NORDFX #FOREX #TRADE #ข่าวสาร #cryptocurrencynews #News
.
หมายเหตุ: เนื้อหาดังกล่าวไม่ควรยึดถือเป็นคำแนะนำในการลงทุนหรือเป็นคำปรึกษาในการซื้อขายในตลาดการเงิน โดยเนื้อหาข้างต้นเป็นไปเพียงเพื่อจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น การซื้อขายในตลาดการเงินมีความเสี่ยงและอาจทำให้เกิดการสูญเสียเงินฝากได้
เปิดร้านค้าออนไลน์ฟรี
แชร์   |    แจ้ง / รายงานสินค้า

ให้คะแนนสินค้า

กำลังโหลดรีวิว..